การเคลื่อนย้ายปลาเข้าฟาร์ม
ReadyPlanet.com
การเคลื่อนย้ายปลาเข้าฟาร์ม

ปัจจัยเสี่ยงในการนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในฟาร์ม : การเคลื่อนย้ายปลาเข้าฟาร์ม

นอกจากมีความเข้าใจพื้นฐานเรื่องการติดต่อ/ถ่ายทอด/แพร่กระจายของเชื้อโรค (disease transmission) ในฟาร์มเลี้ยงปลาที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายช่องทางแล้ว ผู้เลี้ยงปลาควรต้องมีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในการนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในฟาร์มอีกด้วย

การระบุปัจจัยหรือพื้นที่เสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจะช่วยให้การกำหนดมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงในการนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในฟาร์มหลักๆ ได้แก่

    (1) การเคลื่อนย้ายปลา

    (2) ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพปลา

    (3) แหล่งน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา

    (4) อุปกรณ์และยานพาหนะ และ

    (5) พาหะนำเชื้อ ซึ่งประกอบด้วยสัตว์พาหะและคน

สำหรับการเคลื่อนย้ายจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการนำเชื้อเข้าในฟาร์มหรือเสี่ยงต่อการกระจายเชื้อก่อโรคที่พบในฟาร์มในบางพื้นที่ไปยังพื้นที่อื่น โดยการเคลื่อนย้ายนั้นมีหลายกรณี เช่น

    - การเคลื่อนย้ายปลาหรือไข่ปลาจากนอกฟาร์มนำมาเลี้ยงในฟาร์มและการเคลื่อนย้ายปลาหรือไข่ปลาภายในพื้นที่ของฟาร์มเดียวกัน

    - การนำปลาหรือนำไข่ปลาเข้ามาเพื่อดำเนินกิจกรรมในฟาร์มไม่ว่าจะเป็นปลาชุดใหม่หรือชุดเก่า (หากไม่ได้รับการตรวจสอบ) ที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ นำมาเลี้ยงขุน นำเข้ามาทดแทนในฝูงเดิมหรือนำไข่ (หากไม่ได้ฆ่าเชื้อ) เข้ามาเพาะฟักต่อ อาจนำเชื้อโรคเข้ามาสู่ปลาที่เลี้ยงในฟาร์มได้และในบางครั้งสำหรับเชื้อก่อโรคบางโรค ทำให้ปลาบางชนิดที่ได้รับเชื้อติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการป่วยแต่ยังสามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปสู่ปลาชนิดอื่นได้ซึ่งจะเป็นปัญหาในระบบการเลี้ยงต่อไป

การป้องกันปัจจัยเสี่ยง ในการนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในฟาร์มที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายปลาเข้าฟาร์มโดยทั่วไปแล้วมีหลายกิจกรรมเกี่ยวข้องที่ผู้เลี้ยงต้องคำนึงถึง ได้แก่

    (1) แหล่งที่นำปลาเข้าฟาร์ม แหล่งซื้อปลาต้องมั่นใจว่าปลาที่นำเข้ามามีสุขภาพดี มาจากต้นทางที่ดีน่าเชื่อถือมีการตรวจสภาวะสุขภาพมาก่อน มีใบรับรองสุขภาพ (health certification) ควรมีการตรวจว่าปลาปลอดจากโรคที่สำคัญหากสามารถทำได้ควรซื้อไข่หรือปลาจากพ่อแม่พันธุ์ปลอดโรคที่ได้รับการรับรอง (certified disease-free broodstock) การนำไข่ปลาเข้ามาในฟาร์มควรมีการทำลายเชื้อก่อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับไข่ก่อนนำเข้าฟาร์มหรือมีมาตรการควบคุมป้องกันโรคก่อนนำสัตว์ใหม่เข้าฟาร์ม เช่น กักกันโรค ทำวัคซีนป้องกันโรคตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรมีการวางแผนการนำไข่หรือปลาเข้ามาในฟาร์มอย่างเป็นระบบเพื่อลดความถี่ในการนำความเสี่ยงของเชื้อก่อโรคเข้ามาในฟาร์ม

    (2) ต้องกักกันปลาที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในฟาร์มหรือในพื้นที่ที่มีความแตกต่างของสถานะสุขภาพสัตว์ เมื่อนำปลาใหม่เข้ามาในฟาร์มจำเป็นจะต้องลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปสู่ปลาที่เลี้ยงอยู่เดิม โดยการกักกันหรือแยกเลี้ยงปลาที่นำเข้าใหม่ในพื้นที่เฉพาะหรือสถานที่กักกันโรคสักระยะหนึ่งเพื่อสังเกตสภาวะสุขภาพก่อนที่จะนำปลาชุดใหม่เข้าไปในระบบการเลี้ยงปลาชุดปัจจุบัน ระยะเวลาที่ใช้ในการกักกันนั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อก่อโรคสำหรับฟาร์มโดยทั่วไปมักจะกักโรคที่ระยะเวลาประมาณ 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ควรจะมีความรู้เพิ่มเติมด้วยว่าโรคใดมีแนวโน้มจะพบมากหรือน้อยในพื้นที่ การเลี้ยงนั้นๆ หรือในพื้นที่ที่อุณหภูมิน้ำสูงหรือต่ำ เช่น โรค Spring Viremia of Carp มักพบได้เมื่ออุณหภูมิของน้ำมีค่าประมาณ 17 °C หรือต่ำกว่า ทั้งนี้สำหรับโรคบางโรคบางครั้งอาจไม่สามารถสังเกตเห็นอาการภายนอกที่ผิดปกติได้ในระหว่างการกักกันโรคสัตว์

    (3) การกักกันโรคควรทำในพื้นที่ที่อยู่ห่างจากบริเวณที่เลี้ยงปัจจุบันหากสามารถจัดการได้ควรแยกใช้ระบบน้ำในการเลี้ยงมีการจัดการน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงไม่ให้ปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำหรือสิ่งแวดล้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในพื้นที่กักกันโรคควรแยกต่างหากหากกับอุปกรณ์ที่ใช้ในพื้นที่เลี้ยงปลาปกติ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนจากอุปกรณ์ไปยังปลาที่เลี้ยงสำหรับรายละเอียดของปัจจัยเสี่ยงในการนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในฟาร์มปัจจัยอื่นนั้นจะขอนำเสนอต่อในบทความครั้งถัดๆ ไปนะคะ


สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

 

Risk factors of the introduction of diseases

From last time, we’ve already learnt how diseases transmit. But that’s not enough. Farm owner should also understand about the risks of how diseases are introduced into farms.

Identifying risk factors of disease introduction is a key component to develop preventive measure.

Because. when you know the risks, then you know how to avoid them.

The major risks of disease introduction are:

    (1) Fish transportation

    (2) Factors related to fish health

    (3) Water source

    (4) Farm equipment and vehicle

    (5) Disease carrier (human and animal)

Fish transportation is not only risk bringing disease into a farm but also associate with the spread of disease between farms or areas. For example,

    - Bringing in fish or eggs into a farm for any farm activities, including broodstock for replacement, fry or fingerling for grow-out and eggs for hatching. All these activities are related to disease introduction into a farm. Some diseases, infected fish show no sign of illness but when they are released, they can transmit a disease to others.

Managing the risk factor

To minimize the risk of introducing disease into farms by fish transportation, farm owners need to consider several things, including

(1) Source: You have to make sure that you bringing in fish from the trusted sources. Health certificate for each batch that prove specific disease-free status should be provided. If possible, obtain fish or eggs from certified disease-free broodstock. Eggs should be disinfected before being used in farms. Other disease prevention measures should be used, such as quarantine and vaccination. In addition, transportation schedule should be properly managed.

(2) Quarantine: When importing fish into a farm, or moving fish from areas with different health status, fish should be held in a confine area for a period of time to observe health. This will help prevent the risk of disease that come with the new animal. Generally, quarantine period takes 4 weeks, however, duration may be changed due to the specific diseases that are found in each particular region. For example, Spring Viremia of Carp can be found when water temperature is below 17 oC. Also, during quarantine period, some diseases cannot be confirmed only by observation.

(3) Quarantine area: Site for quarantine station should be isolated from the rest of the farm. Completely separated the equipment and if possible, water used in the quarantine area should also be separated. Discharge water should be treated before being released.

Next time, we will discuss more about other risks associated with disease introduction into the farms.

 
Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)