คน
ReadyPlanet.com
คน

ปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ในการนำเชื้อก่อโรคเข้ามาในฟาร์มปัจจัยสุดท้าย คือ มนุษย์หรือคนที่เข้ามามีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในฟาร์มนั่นเอง เช่น ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์ม บุคคลภายนอกที่เข้ามาทำงานในฟาร์มชั่วคราวและผู้เข้าเยี่ยมชมฟาร์ม เป็นต้นโดยสามารถนำเชื้อมาสู่สัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มได้ผ่านทางมือ รองเท้า เส้นผม และเสื้อผ้า ดังนั้นฟาร์มจึงควรมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อที่เหมาะสม

แนวทางการป้องกันความเสี่ยงจากคน: ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์ม

ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด มีเสื้อคลุมและรองเท้าเฉพาะเมื่อทำงาน ควรทำความสะอาดรองเท้าก่อนเข้าโรงเพาะฟัก บ่อเลี้ยง มีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่นแปรงและน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการชะล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกออกจากรองเท้าและมีอ่างจุ่มเท้าที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมอยู่บริเวณทางเข้า ควรล้างหรือทำความสะอาดมือเมื่อมีการเคลื่อนย้ายปลาหรือเครื่องมือระหว่างพื้นที่ควรมีมาตรการฆ่าเชื้อรองเท้าก่อนเข้าสู่บริเวณที่เลี้ยงปลาหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพปลา ในขั้นตอนการทำงานหากสามารถทำได้ควรจัดลำดับงานโดยเริ่มทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคต่ำที่สุดไปไล่จนถึงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสี่ยงสูงสุด เช่นทำความสะอาดอุปกรณ์บ่อเลี้ยงของปลาที่แข็งแรงไม่มีอาการป่วยหรือไม่มีโรคก่อนแล้วจึงทำความสะอาดส่วนที่สกปรกหลังสุด ทำงานกับปลากลุ่มที่อ่อนแอที่สุด เช่นโรงเพาะฟัก ลูกปลา ก่อนเข้าไปทำงานในส่วนอื่นเนื่องจากมีความเสี่ยงทางสุขภาพมากกว่าปลาที่โตแล้ว บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มควรบันทึกการทำงาน การเข้าถึงสถานที่เลี้ยงแต่ละที่สำหรับสถานที่ที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อควรจำกัดให้เข้าเฉพาะผู้ปฏิบัติงานที่จำเป็นเท่านั้น เช่นโรงเพาะฟัก

แนวทางการป้องกันความเสี่ยงจากคน: ผู้เยี่ยมชมฟาร์ม

ผู้เยี่ยมชมฟาร์มโดยเฉพาะผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงต่อการนำโรคเข้าฟาร์ม เช่นฟาร์มอื่นหรือพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคอาจเป็นผู้นำเชื้อเข้าสู่สัตว์ในฟาร์มได้ ฟาร์มควรมีมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดเชื้อโรค โดยอาจให้ผู้เยี่ยมชมฟาร์มใส่เสื้อคลุมที่สะอาดและรองเท้าบู๊ตที่ใช้แล้วทิ้งหรือฆ่าเชื้อในขณะที่อยู่ในฟาร์มควรเก็บรักษาบันทึกการเข้าชมฟาร์มของไว้ในการเยี่ยมชมฟาร์มควรมีเจ้าหน้าที่ประจำฟาร์มอยู่ด้วยตลอดการเยี่ยมชและควรจำกัดพื้นที่ที่ผู้เยี่ยมชมฟาร์มสามาถเข้าถึงได้เพื่อลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อโรค การป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายในฟาร์มและลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคระหว่างฟาร์ม จะลดความสูญเสียจากการเกิดโรคภายในฟาร์มและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคฟาร์ม ผู้เลี้ยงจึงควรปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างสม่ำเสมควรมีการสื่อสารและพูดคุยกับผู้ร่วมงานและผู้เยี่ยมชมฟาร์มเพื่อร่วมกันปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและต้องมีการประเมินระบบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจในประสิทธิภาพของมาตรการที่วางไว้

สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Risk factors of the introduction of diseases into farms : human 

One last risk factor that we will talk about is ourselves, “human”. This includes any personnel associated with the farm, such as farm workers, outside services or subcontractor and visitors.

Not only animals can carry diseases, human can too. The pathogens such as bacteria and viruses can be found on hands, shoes, hairs and cloths. So, it is important for the farm to have good measure to prevent this.

Risk factor management: Farm personnel

    - Wear clean cloth, gown or apron and special shoes while working in hatchery or culture area.

    - Provide cleaning tools for shoes. Install footbath (with proper disinfectant) before entering culture area.

    - Wash hands before and after moving fish or equipment between area.

    - Mange work flow: start working in the lower risk area before moving to the high risk area, for example, start from the most naïve fish (eggs, fry or fingerling).

    - Keep all record of people entering culture area. Restrict access for some high risk areas, such as hatchery.

Risk factor management: Visitor

    - Anyone who visiting your farm might come from a disease endemic areas. These people could be a risk factor of introducing disease into a farm.

    - Provide clean gown and boots for visitors (disposable or can be sterile after used).

    - Keep record of all visitors entering culture area. Limit the area that visitor can visit.

    - On a farm visit, there should be at least one person to accommodate the group of visitor at all time,

Managing risk factors of the introduction of diseases into farms can significantly reduce our loss. By follow good biosecurity measure, all the risks can be minimized. It is necessary to make sure that all farm personnel and visitors understand the important of risk management. In addition, your biosecurity system should be routinely evaluated to make sure that everything functions properly.

Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)