การสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ
ReadyPlanet.com
การสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ

วนเวียนอยู่กับเรื่องของมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ การกักกันโรคและปัจจัยเสี่ยงในการนำเชื้อก่อโรคเข้าฟาร์มมาหลายสัปดาห์แล้ว

ขอวนมาพูดถึงเรื่องโปรไบโอติกบ้างเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศเล็กน้อยสำหรับการทำงานและประสิทธิภาพของโปรไบโอติกที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำนั้น มีนักวิจัยหลายคนได้ทำการศึกษาในเรื่องนี้ ทั้งนี้ประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์ในช่วงสืบพันธุ์ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย โดยในช่วงดังกล่าวร่างกายของสัตว์น้ำจะต้องใช้สารอาหารสูง มีความต้องการทางโภชนาการสูง ความเข้มข้นของไขมัน โปรตีน กรดไขมัน วิตามิน C และ E และ carotenoids ในอาหารและประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารจึงมีความสำคัญมากและต้องมีปริมาณเหมาะสมนอกจากนี้สัดส่วนของส่วนประกอบทางโภชนาการมีอิทธิพลต่อขบวนการที่เกี่ยวข้องในการสืบพันธุ์ เช่น ความสมบูรณ์ของการปฏิสนธิ การคลอดและการพัฒนาตัวอ่อน

ในปัจจุบันในการเพาะเลี้ยงปลานั้น จะมีการผลิตอาหารสูตรเฉพาะสำหรับ "พ่อแม่พันธุ์" ซึ่งมีการปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการให้เหมาะสมกับการใช้ในช่วงสืบพันธุ์สำหรับบางฟาร์มและปลาบางชนิดอาจเสริมอาหารอื่นนอกเหนือจากอาหารสำเร็จรูป เช่น ปลาสด ปลาหมึก หอยแมลงภู่และกุ้งกุลาดำขนาดเล็ก การใช้อาหารสดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการที่ทำให้มั่นใจได้ว่าปลอดเชื้อก่อโรคจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในฟาร์มรวมทั้งผลิตภัณฑ์ปลาสด หมึก หอย ดังกล่าวยังไม่สามารถระบุสารอาหารที่ให้พ่อแม่พันธุ์ได้อย่างชัดเจน นั้นจึงมีการนำโปรไบโอติกมาใช้ผสมในอาหารพ่อแม่พันธุ์หรือผสมลงในน้ำเพื่อหวังผลในการสร้างสมดุลของโปรไบโอติกในระบบทางเดินอาหารของพ่อแม่พันธุ์ ส่งผลให้เกิดการดูดซึมสารอาหารดีขึ้นป้องกันการติดเชื้อและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์

มีการศึกษาเกี่ยวกับผลของการเสริมโปรไบโอติกสายพันธุ์ Bacillus subtilis ต่อสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของปลาโดย โดยให้เชื้อ Bacillus subtilis ในความเข้มข้นที่แตกต่างกันไปในปลาสวยงามและผลจากการทดลองตลอดหนึ่งปี แสดงให้เห็นว่าการใช้เชื้อ Bacillus subtilis ที่ความเข้มข้น 106 -108 เซลล์ต่อกรัมของอาหาร ส่งผลให้ค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศในปลา (gonadosomatic index, GSI) เพิ่มขึ้น ความดกของไข่ปลา (fecundity) ที่มีในรังไข่ก่อนผสมพันธุ์วางไข่ (spawning) เพิ่มขึ้นลูกปลามีอัตรารอดสูงขึ้นทำให้มีผลผลิตลูฏปลาเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าโปรไบโอติกบางชนิดสามารถสังเคราะห์ว่าวิตามิน B complex ได้โดยเฉพาะวิตามินบี 1 (thiamine) และวิตามินบี 12 ซึ่งทำให้พบการตายและการเกิดลักษณะผิดรูปของลูกปลาที่ยังมีถุงไข่แดงอยู่น้อยลง

ยังมีอีกการศึกษาหนึ่งที่ทดลองนำอาหารสำเร็จรูปผสมโปรไบโอติกที่ประกอบด้วย Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus casei, Enterococcus faecium และ Bifidobacterium thermophilum ให้ปลาสอดหางดาบเขียวกินและพบว่าจำนวนลูกปลาที่ยังมีถุงไข่แดงของปลากลุ่มที่ได้รับโปรไบโอติกมีมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเรื่องอาหารโภชนาการประสิทธิภาพในการย่อยและดูซึมสารอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ


สัตวแพทย์หญิง ดร.มินตรา ลักขณา (หมอเม)
อ.น.สพ.ดร. ภัทรพล เปี่ยมสมบูรณ์ (หมอเอก) 

 

 

Probiotics and their functions: Reproduction enhancement

We have talked about biosecurity, quarantine and disease risk factors for many weeks now, let go back to the topic regarding “Probiotics”.

Today, we will discuss about the benefit of probiotics on the reproductive system of farmed fish. Many researchers have looked into this issue for years.

Generally, aquatic animal during reproductive stage requires high level of nutrient. Proper amount of protein, fatty acid, vitamin C, E and carotid should be present in feed. Moreover, nutrients absorption is also crucial. Balance of the nutrients in feed and absorption process of the animal will influence in all reproductive activities such as fertilization, spawning and embryo development.

There are several feed formulas designed for “breeder”. Some farms may use live feed, such as small fish or shrimp, squid, and mussels. However, nutrient level in these feed cannot be determined and the feed may be contaminated by disease agents. Therefore, live feed may not suitable for high value broodstock.

On the other hand, probiotics might be more useful. Probiotics have been used with feed to create balance of microorganism in brooder’s gut. Balance microorganism community will enhance nutrient absorption and improve disease resistance which will facilitate the reproduction system.

There was a study about probiotics Bacillus subtilis that can increase reproductive performance of aquarium fish. By giving probiotics Bacillus subtilis at the rate of 106 -108 per gram of feed

can increase gonadosomatic index (GSI), fecundity (number of egg in ovary before spawn) and larvae’s survival rate.

In addition, some probiotic bacteria can produce vitamin B complex, especially vitamin B1 (thiamine) and vitamin B12 which help reduce mortality and malformity of fish larvae.

Another study showed that probiotic Lactobacillus acidophilus, Lactobacillus casei, Enterococcus faecium and Bifidobacterium thermophilum mixed with feed also gave similar results in Swordtail fish.

The reproductive functions of aquatic animals are indeed influenced by nutrition, as well as food digestion and nutrient absorption and probiotics are sure to support all these both directly and indirectly.


Mintra Lukkana, DVM, MSc, PhD
Pathradol Piamsomboon , DVM , PhD




  




Farm story

วิตามินซีคนทานได้ ปลากินดี
งานวิจัย ขิง กับ ยากำจัดวัชพืช
โปรไบโอติกแบบ multi-species
ขมิ้นชันในอาหารปลานิล
อาหารสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ปลาเสมือนจริงทดแทนการใช้สัตว์ทดลอง
การใช้สมุนไพรเป็นยาสลบกับปลาเรนโบว์เทราต์
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (3/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (2/3)
การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในสัตว์น้ำโดยองค์การสุขภาพสัตว์โลก (1/3)
ความสัมพันธ์ของพยาธิตืดในปลากับแบคทีเรียตัวร้าย
โปรตีนจากเคยและการเลี้ยงกุ้ง
Nutraceuticals และการรักษาโรค AGD ในปลาแซลมอน
การป้องกันดีกว่าการรักษา วัคซีนคุณภาพ หยุดการระบาดของโรคสัตว์
nanobubbles และการเพาะเลี้ยงกุ้ง
nanobubbles
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #2
Black soldier fly แหล่งโปรตีนย่อยง่ายในอาหารสัตว์น้ำ #1
ยีสต์ทำขนมปังกับโปรไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้ปลา
ผลกระทบของ Covid19 ต่อตลาดปลาเทอร์บอตและคาเวียร์ของสหภาพยุโรป
โปรตีนทางเลือกกับปัญหาโรค EMS ในการเลี้ยงกุ้ง
"แมลงกับอุสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยง"
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #10
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #9
การสนับสนุนความยั่งยืนในการประมง
กระแสความต้องการประมงยั่งยืน โอกาสและความท้าทายสำหรับปลานิล
African swine fever
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #8
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #7
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #6
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #5
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #4
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #3
พืชสมุนไพรกับสุขภาพปลา
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #2
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE #1
ความปลอดภัยทางชีวภาพในสถานประกอบการสัตว์น้ำของ OIE
ปลาแซลมอน ในอาร์เจนตินา
โปรตีนทางเลือก
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนประชาคมระหว่างประเทศในการพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ และสวัสดิภาพสัตว์น้ำของ OIE
ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ของ OIE
อาหารในโลกอนาคต
โปรไบโอติก Bacillus pumilus กับวิบริโอ
probiotic กับสารสกัดอินทผลัม
การยึดเกาะของโปรไบโอติก
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่งและเรื่องที่ควรทำหลังขนส่ง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การวางแผนการขนส่ง (1)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (2)
ข้อกำหนดเกี่ยวกับสวัสดิภาพสัตว์ในสัตว์น้ำ: การขนส่ง (1)
“อาหารปลอดภัย” “สิ่งแวดล้อม” “สวัสดิภาพสัตว์” กับการเลี้ยงสัตว์ปัจจุบัน
เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy : ภาคการเกษตร
การให้ probiotic ชนิด Bacillus cereus และ Bacillus subtilis ผสมอาหารปลานิล ที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต สุขภาพของลำไส้ และความต้านทานต่อการติดเชื้อ Streptococcus agalactiae
การใช้ probiotics prebiotics และ synbiotics ในปลานิล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโต และการป้องกันการติดเชื้อ Aeromonas hydrophila
ปลานิลและซินไบโอติก
ปลาเทราต์กับซินไบโอติก
การฆ่าเชื้อโรคอุปกรณ์ส่วนตัว และน้ำ
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (3)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ข้อควรคำนึงถึงในการฆ่าเชื้อสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
วัคซีน Covid-19 หนึ่งในวิธีป้องกันโรค
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
ประเภทของสารฆ่าเชื้อในสถานประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรคกรณีฉุกเฉิน และการเลือกใช้สารฆ่าเชื้อ
การวางแผนการฆ่าเชื้อโรค ในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์
ซินไบโอติกกับแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้กุ้งกุ้ง
ซินไบโอติกกับภูมิคุ้มกันของกุ้ง
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (2)
การฆ่าเชื้อโรคในสถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์ม และอุปกรณ์ (1)
คำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบนพื้นผิวไข่ปลาแซลมอน
การประเมินโปรไบโอติก
การควบคุมเพศในสัตว์น้ำผ่านการจัดการชุดโครโมโซม
แอบดูจีนเลี้ยงกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำความรู้จัก…เปปไทด์ต้านจุลชีพ
โลกยุค 4.0 กับการเฝ้าระวังโรค
วิเคราะห์ข่าว หมู ไก่
อาหารสัตว์และเรื่องของสารพิษจากเชื้อรา
ซินไบโอติก (Synbiotics) สำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนิเวศของแบคทีเรียในบ่อกุ้งกับโปรไบโอติก
ทำไมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จึงไม่มีรายงานความเสี่ยงต่อไวรัส COVID-19
น้องใหม่ตัวร้ายไวรัสในกุ้ง Decapod Iridescent Virus 1 (DIV1)
ต้านวิบริโอด้วยโปรไบโอติก
ก้งุ โปรไบโอติก การเจริญเติบโต การย่อยอาหาร
แมงดากับงานด้านการแพทย์
คาเวียร์ ไข่จากปลาที่ใกล้สูญพันธุ์
การตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการและการนำไปใช้
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (2)
E-commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำผ่านหลัก 7P (1)
ระบบข้อมูลสุขภาพสัตว์โลก
น้ำปลา ความอร่อยจากอดีตสู่ยุคใส่ใจสุขภาพ
โรคอุบัติใหม่ในสัตว์น้ำของประเทศไทยในอดีต
โรคอุบัติใหม่ไม่ไกลตัว Novel Coronavirus
เรื่องกุ้งกับโปรไบโอติก (2)
ความสำคัญของการรายงานการระบาดของโรคกับสุขภาพสัตว์น้ำ
ยกระดับ from farm-to-table ด้วยสี่เสาหลักด้านคุณภาพ
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (2)
คู่มือป้องกัน โรคโควิด-19
ความลับของปลาเนื้อสีส้ม: เรื่องที่น่าสนใจของปลาแซลมอน (1)